การเลือกใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร .

การเลือกใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร

Share : facebook share twitter share messenger share

บทความ น้ำมันมะพร้าว

การเลือกใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร



ถึงแม้ว่าน้ำมันจะมีความสำคัญต่อร่างกาย แต่การรับประทานมากจนเกินไป หรือ เลือกใช้ไม่ถูกวิธีการ อาจก่อให้เกิดผลเสียและก่อให้เกิดโรคกับร่างกายได้เช่นกัน

 

     การนำน้ำมันมาปรุงอาหาร มีมานานมากเป็นร้อยๆ ปีแล้ว ซึ่งอาหารอยากจะทำให้สุก มันมีหลายวิธีมาก ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด จะเห็นได้ว่าวิธีต่างๆ แตกต่างกันออกไป แต่วิธีนั้นๆ ก็ขึ้นอยู่กับอาหารด้วย ว่าจะใช้อะไรปรุง ซึ่งวันนี้องค์ประกอบหลักๆ ของการทำอาหารจะต้องมี “น้ำมัน” ซึ่ง น้ำมัน เป็นส่วนหนึ่งของการปรุงอาหาร ไม่ว่าจะวิธีใด อาหารประเภทใด เราสามารถใส่น้ำมัน ได้ทั้งนั้น แต่ทั้งนี้ น้ำมัน ที่เอามาใช้จะต้องเป็นน้ำมันที่ดี และเป็นน้ำมันที่สามารถกินได้ น้ำมัน จึงมีความสำคัญ ต่ออาหารมากที่สุด เพื่อให้วัตถุดิบ ของเราสุกเหลืองเงาหอม ได้มากขึ้น

 

     ปัจจุบันมี น้ำมัน หลากหลายประเภทให้เลือกบริโภค ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษา หาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ และ เลือกชนิดน้ำมัน เพื่อนำมาปรุงอาหารได้อย่างถูกต้อง

 

ทำความรู้จักชนิดของน้ำมันกันก่อน

     น้ำมันสำหรับปรุงอาหาร ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ น้ำมันพืช และ น้ำมันที่มาจากไขมันสัตว์ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเข้าใจผิด คิดว่า น้ำมันพืช ต่างจาก น้ำมันหมู หรือ น้ำมันสัตว์ ตรงที่ให้พลังงานน้อยกว่าน้ำมันสัตว์ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ความจริงแล้ว ไม่ว่า น้ำมันพืช หรือ น้ำมันสัตว์ ก็จะให้พลังงานต่อหน่วยน้ำหนัก เท่ากัน คือ 1 กรัม จะให้พลังงานเท่ากับ 9 kcal ดังนั้น ความเชื่อที่ว่า กินน้ำมันพืช แล้วไม่อ้วน จึงไม่เป็นความจริง เพราะไม่ว่าน้ำมันอะไร หากกินมากเกิน ก็0tทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ได้เหมือนกัน

 

น้ำมันสัตว์

     น้ำมันหมู จะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น กรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นไขได้ง่าย มีกลิ่นเหม็นหืน ไขมันจากสัตว์ นอกจากมีไขมันอิ่มตัวแล้ว ยังมีคลอเลสเตอรอลอีกด้วย การกินไขมันสัตว์มาก อาจจะทำให้ระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นอีกด้วย แต่ทั้งนี้พูดว่า ไม่สามารถนำมาทำอาหารได้ก็คงแปลก ไขมันสัตว์ สามานำ มาปรุงอาหารได้ แต่ว่าต้องใช้ง่าย หากได้มาแล้วให้น้ำปรุงอาหารโดยไวที่สุด ไม่แนะนำให้เก็บไว้ค้างคืน หรือ อยากจะค้างคืนก็ ค้างได้แค่ 1 คืน ถ้าหากเก็บไว้นาน จะเหม็นหืนสุดๆ ไม่แนะนำให้มาทำต่อ

 

น้ำมันพืช (ยกเว้น น้ำมันมะพร้าว และ น้ำมันเมล็ดปาล์ม)

     น้ำมันพืช เป็นน้ำมันที่ทุกบ้านต้องมี ไม่ว่าจะครัวเรือนไหน ซึ่งอย่างแรกเลยที่ทุกเรือนมีเพราะว่า หาซื้อได้ง่าย การเก็บรักษาก็ง่ายเช่นกัน น้ำมันพืช ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย กรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จริงอยู่ที่มีประโยชน์แต่ถ้าเราบริโภคมากๆ ส่งผลให้เกิดไขมันสะสม หรือ ไขมันส่วนเกินได้ น้ำมันพืช มักทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืนภายหลังจากใช้ประกอบอาหารแล้ว ยิ่งเป็นน้ำมันเก่า น้ำมันค้างคืน อาจจะมีสารอันตรายก่อให้ เกิดมะเร็งเลยทีเดียว

 

น้ำมันมะกอก

     น้ำมันมะกอก ถ้าหลายคนเคยได้ยินก็คือ ต้องเอามาทาผม หมักผม เพื่อให้ผมมีสุขภาพที่ดี แต่น้ำมันมะกอก หากมองอีกมุมหนึ่ง คือเรื่องของการ นำมาปรุงอาหาร ซึ่งเป็น น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว มากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดคลอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในร่างกาย อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน ที่จะช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ลดรอยเหี่ยวย่นได้ แต่ไม่เหมาะกับการปรุงอาหาร ที่ต้องใช้ความร้อน

 

น้ำมันปาล์ม

     อีกหนึ่งน้ำมัน ที่ใครหลายๆ คน ชอบนำมาทำอาหาร โดยเฉพาะทำแบบทอด ซึ่งน้ำมันแบบทอดนั้น มันจะมีลักษณะพิเศษก็คือ ใส ดูเบากว่า และ มีสีที่เหลืองทอง หรือ ที่ชอบเรียกกันว่า น้ำมันปาล์ม ซึ่ง น้ำมันปาล์ม มีกรดไขมันที่มีความอิ่มตัว มากกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว ทำให้ น้ำมันปาล์ม มีกลิ่นหืนมากกว่า และ ยังไม่เกิดควันเมื่อผัด หรือ ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูง แต่ด้วยความที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง จะทำให้คลอเลสเตอรอลสูงได้ แต่ต้องขอเตือนเรื่อง น้ำมันปาล์ม ไว้ก่อนเลยนะครับว่า ไม่ควรอย่างยิ่งในการนำมาทอดซ้ำ

 

น้ำมันมะพร้าว ( Coconut Oil )

     น้ำมันมะพร้าว ( Coconut Oil ) ที่ใครๆ เคยได้ยินผ่านหู ผ่านตา มาบ้างแล้ว ซึ่ง น้ำมันมะพร้าว ( coconut oil ) เป็นน้ำมันที่ใช้ได้ตั้งแต่หัวจนถึงเท้าเลยแหละ ไม่ว่าจะทาผิว  บ้วนปาก หมักผม สามารถนำ น้ำมันมะพร้าว ( coconut oil ) มาใช้ได้หมดเลย แต่ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่ น้ำมันมะพร้าว ( coconut oil ) ก็สามารถทำได้เช่นกันก็ คือ ปรุงอาหาร และ ปรุงได้ดีอีกด้วย น้ำมันมะพร้าว ( coconut oil ) เป็นสินค้า ที่เกี่ยวกับสุขภาพล้วนๆ และ เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวขนาดกลาง มีกรดลอริก กรดคาปริก และ กรดคาปริลิก ทำด้วยกรรมวิธีจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีเป็นพิษ อีกทั้งยังช่วยเผาผลาญร่างกาย และ เพิ่มปริมาณไขมันดี HDL

 

     การที่เราเอา น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหาร  ( Coconut Cooking oil ) มาทำอาหาร จะช่วยให้อาหารของเรา มีกลิ่นที่หอม และ ยังสามารถชูวัตถุดิบหลัก ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งตัว น้ำมันมะพร้าว สำหรับปรุงอาหาร  ( Coconut Cooking oil ) มีไขมันอิ่มตัวขนาดกลาง ซึ่งมันจะทำให้อาหารของคุณ อร่อยขึ้น และ ไม่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพอีกด้วย

 

     เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับการทำความรู้จัก น้ำมันมะพร้าว ( Coconut Oil ) และน้ำมันชนิดอื่นๆ ที่นำมาปรุงอาหาร  ยังไงก็แล้วแต่ บ้านใครใช้น้ำมันแบบไหนก็ต้องเลือกน้ำมัน ให้ถูกต้องกับอาหารที่เราจะปรุง มันจะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น และ ช่วยให้มื้ออาหารของคุณ เป็นมื้อที่ดีนะครับ

 

     การใช้น้ำมันปรุงอาหารจะต้องคำนึงถึงความร้อน ที่ใช้ประกอบอาหารเป็นหลัก เราขอแนะนำ น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร ( Organic Coconut Cooking Oil ) เหมาะสำหรับทำอาหารโดยผ่านความร้อน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 


บทความที่น่าสนใจ

รู้แล้วต้องว้าว ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสกัดเย็น

น้ำมันมะพร้าว ตัวช่วยดี ๆ ที่ทำให้ มื้ออาหาร อร่อยขึ้น

น้ำมันมะพร้าว ผู้ช่วยของคุณแม่ตั้งครรภ์

เคล็ดลับ ชะลอวัย ด้วย น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น