น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร ตัวช่วยทำให้คุณมีความสุขกับการทานของทอด
เทรนด์รักสุขภาพกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ ทำให้คนเริ่มหันมาใส่ใจในการเลือกทานอาหารมากขึ้น รวมไปถึงเลือกใช้น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ วันนี้เรามีตัวช่วยดี ๆ อย่าง “น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร” ( Coconut Cooking Oil ) ที่จะทำให้คุณมีความสุขกับการทานของทอดได้มากขึ้น และมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพน้อยลง
อย่างที่บอกไปว่าคนเริ่มหันมาใส่ใจในเรื่องของสุขภาพกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายการรับประทานอาหาร รวมไปถึงการเลือกสรรอาหาร วัตถุดิบ เพื่อนำมาปรุงอาหาร โดยจะเลือกที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่ง “น้ำมันมะพร้าว” กำลังได้รับความนิยมในการนำมาปรุงอาหาร
หลาย ๆ คนมักมองว่า “น้ำมันมะพร้าว” เป็นน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง จึงไม่สมควรรับประทาน แต่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ อาจารย์ประจำสถานบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลในวันแถลงข่าวเรื่อง “น้ำมันดี น้ำมันเลว มีจริงไหม” ไว้ว่า
“แม้ว่าน้ำมันมะพร้าวจะมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง แต่ต่างจากน้ำมันชนิดอื่นตรงที่ ส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าวประมาณครึ่งหนึ่ง มีความยาวโมเลกุลปานกลาง (Medium chain fatty acid) เมื่อร่างกายได้รับจะย่อยง่ายและดูดซึมได้ทันที ทำให้มีการสะสมในร่างกายน้อยกว่าน้ำมันชนิดอื่น ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวเช่นเดียวกัน”
ด้วยคุณสมบัติของน้ำมันมะพร้าวที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง จึงเหมาะแก่ การผัด การทอด เพราะสามารถทนความร้อนได้สูง ทอดอาหารแล้วกรอบได้นาน เปลี่ยนแปลงสภาพน้อยเมื่อเจอความร้อนสูง ไม่ทำให้ของทอดอมน้ำมัน ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ทำให้อาหารมีรสชาติกรอบอร่อย นอกจากนี้แล้ว การใช้น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร ไม่ทำให้ระดับไขมันตัวร้าย (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ ที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น แต่กลับช่วยเพิ่มระดับไขมันตัวดี (HDL) ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแทน
น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร 1 ช้อนชา ให้พลังงานประมาณ 39 kcal ไม่มีคอเรสเตอรอล พลังงานทั้งหมดมาจากไขมัน ดังนั้น ควรใช้น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรเกินปริมาณไขมันรวมที่ร่างกายต้องการ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 25-30% ของปริมาณพลังงานรวมที่ร่างกายต้องการ
การทอดอาหารด้วยน้ำมันมะพร้าว ทำให้อาหารกรอบได้นานก็จริง แต่ศึกษาด้วยว่าการทำอาหารทอดนั้น เมนูไหนต้องใช้ไฟแรง เมนูไหนต้องใช้ไฟอ่อน เมนูไหนต้องใช้ไฟปานกลางเมนูทอด ไม่เช่นนั้นอาจมีปัญหาการทอดแล้วอมน้ำมัน การเหม็นหืนน้ำมัน นั่นเอง
ประเภทของการทอด
1. การทอดโดยใช้น้ำมันน้อย (pan frying)
การทอดโดยใช้น้ำมันน้อย เป็นการทอดโดยการใช้น้ำมันหรือไขมันปริมาณเล็กน้อยเพียงเพื่อเคลือบบนผิว ป้องกันไม่ให้อาหารติดภาชนะทอด หรือให้เกิดกลิ่น รส ที่ต้องการ ซึ่งกระทะที่ใช้ทอดเป็นกระทะก้นตื้น
2. การทอดโดยใช้น้ำมันมากหรือน้ำมันท่วม (deep fat frying)
การทอดโดยใช้น้ำมันมากหรือน้ำมันท่วม เป็นการทอดที่ใช้น้ำมันปริมาณมาก โดยอาหารที่ทอดจะจมอยู่ในภาชนะที่บรรจุน้ำมัน เกิดลักษณะผิวหน้าที่แห้ง กรอบ เปลือกเป็นสีน้ำตาล
คำแนะนำในการใช้ น้ำมันมะพร้าว ในการทอดอาหาร
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันที่ทอดซ้ำ ควรใช้เพียง 1- 2 ครั้ง แล้วทำการเปลี่ยนน้ำมันจะดีที่สุด
- หากจำเป็นต้องใช้น้ำมันเพื่อทอดซ้ำ ให้ผสมน้ำมันเก่า 1 ใน 3 ส่วน แต่ถ้าน้ำมันมีกลิ่นเหม็นหืน เหนียวข้น สีคล้ำ ไม่ควรนำมาทำอาหารต่อ
- น้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันวัว ไม่ควรนำมาทอดอาหาร เพราะเป็นน้ำมันที่มีคอเลสเตอรอลสูง
- ไม่ควรทอดอาหารด้วยไฟที่แรงเกินไป เพราะ อาจจะทำให้น้ำมันเสื่อมสภาพเร็ว
หากสนใจสั่งซื้อสินค้า : น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร
ด้วยความปรารถนาดีจาก น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร ตราแมนเนเจอร์ (Organic Coconut Cooking Oil By ManNature)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Haijai
บทความที่น่าสนใจ