สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ “ น้ำมันมะพร้าว ”
คำถามยอดฮิตที่มักได้เหล่าผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์รวมไปถึงเภสัชกรรม จะพบบ่อยๆ คือ น้ำมันมะพร้าว ดีอย่างไร ช่วยด้านไหนบ้าง กินแล้วดีกับร่างกายจริงๆหรอ วันนี้ทีมงาน Mannature มีคำตอบมาให้กับทุกข้อสงสัย เกี่ยวกับความรู้ใน น้ำมันมะพร้าว Coconut oil รวมถึงน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็น และสำหรับทำอาหารอีกด้วย มาดูกันเลย
ก่อนอื่นเรารู้เรื่องกลไกและหลักการการทำงาน ชนิดไขมันต่างๆที่ดีต่อร่างกายและไม่ดีต่อร่างกาย ส่วนประกอบต่างๆที่มีผลต่อร่างกายใน น้ำมันมะพร้าว
เริ่มกันที่เรื่องไขมันในร่างกาย ไขมันในอาหาร หลักๆแล้ว จะประกอบด้วย กรดไขมันอิ่มตัว, กรดไขมันไม่อิ่มตัว และคอเลสเตอรอล
กรดไขมันอิ่มตัว คือ กรดไขมันที่ไม่ดี ส่วนมากพบในไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนย และพบได้ในอาหารจากพืชด้วย เช่น กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ซึ่งไขมันกลุ่มนี้หากรับประทานไปมากๆ จะทำให้เกิดโรคอ้วน ไขมันอุดตันในหลอดเลือด ซึ่งมันอันตรายต่อร่างกาย หากเกิดไขมันอุดตันที่หลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ ไขมันกลุ่มนี้ควรกินให้ น้อยกว่า 10% ของพลังงานที่ควรได้ในแต่ละวัน
กรดไขมันไม่อิ่มตัว คือ กรดไขมันดี มักพบไขมันเหล่านี้จากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนล่าและปลา ซึ่งแบ่งเป็น กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว เช่น กรดโอเลอิก และกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เช่น กรดไลโนเลนิก หรือ OMEGA-3 และกรดไลโนเลอิก หรือ OMEGA-6
คอเลสเตอรอล ความเชื่อว่า ไขมันตัวนี้จะส่งผลต่อไขมันอุดตันในเส้นเลือด แต่ในปัจจุบันมีหลักฐานทางวิชาการต่างๆมากขึ้นว่ามีความสัมพันธ์กันค่อนข้างน้อย
กรดไขมันในน้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว จะประกอบไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวเป็นหลัก รวมๆ แล้ว ประมาณ 88.5% – 91% ซึ่งนับว่าสูง สูงกว่าน้ำมันหมูเสียอีก แต่เดียวก่อนอย่าพึ่งคิดว่ามันไม่ดี
คนส่วนใหญ่ที่รับประทานน้ำมันมะพร้าวนั้น หลายคนหวังผลใน เรื่องผลดีต่อหัวใจ และเพิ่มไขมันที่ดีในหลอดเลือด คือ HDL
ซึ่งพบว่า น้ำมันมะพร้าว ( Coconut oil ) สามารถส่งผลให้ HDL (ไขมันดี) มีปริมาณเพิ่มขึ้น และ ในบางงานวิจัยก็พบว่า เพิ่ม HDL(ไขมันที่ดี) และ LDL (ไขมันไม่ดี) ก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ในสัดส่วนที่เพิ่ม HDL ได้มากกว่า แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีผลวิจัยที่จะมายืนยันว่า น้ำมันมะพร้าวจะดีต่อระบบหัวใจ หากทานมากเกินไป ดังนั้นหากเราทาน น้ำมันมะพร้าว ในปริมาณที่พอดี ก็จะดีต่อร่างกายเรานะครับ
ซึ่งกรดไขมันที่พบในน้ำมันมะพร้าวส่วนใหญ่ จะเป็นกรดไขมัน ที่ชื่อว่า Lauric acid (C12) มีกรดไขมันอิ่มตัวที่เป็น Medium Chain Fatty acid จะช่วยให้ร่างกายสามารถเผาผลาญได้ง่ายผ่านกระบวนการ beta-oxidation ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เร็ว และเผาผลาญได้ง่ายกว่าพวกไขมันไม่อิ่มตัวโมเลกุลยาวๆ
ดังนั้นหากจะกินน้ำมันมะพร้าว ต้องอย่าลืมคำนวณด้วยว่า ได้รับไขมันอิ่มตัวจากเนื้อสัตว์ในอาหารเข้าไปเท่าไหร่แล้ว เมื่อกินน้ำมันมะพร้าวก็ควรลดการทานไขมันอิ่มตัวอื่นๆในอาหารลงด้วย (ไม่ควรทานน้ำมันมะพร้าวเกินปริมาณที่แนะนำต่อวัน คือ 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน) และอย่าลืมบวกปริมาณพวกไขมันทรานซ์ ที่เรามักได้รับ จากพวกเบเกอรี่ เช่น เค้ก คุ้กกี้ เนยเทียม เข้าไปด้วยค่ะ
แล้วจะกินอย่างไรให้ดีต่อหัวใจ ?
- ควบคุมปริมาณการรับประทานกรดไขมันอิ่มตัวในแต่ละวันให้น้อยกว่า 10% ของพลังงานที่ควรได้ในแต่ละวัน
- หลีกเลี่ยงการกินไขมันทรานซ์ จะดีต่อหัวใจและหลอดเลือดมากๆ เนื่องจากในไขมันทรานซ์พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเพิ่มของ LDL (ไขมันไม่ดีในหลอดเลือด) จะส่งผลให้ไขมันไม่ดี LDL ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และหัวใจทั้งหลายค่ะ
- เลือกปรุงอาหารด้วยการอบ นึ่ง ย่าง แทนการทอด
- เลือกรับประทานผัก ผลไม้ เพราะมีไขมันต่ำ ใยอาหารสูง
- เพิ่มการรับประทานปลา ลดการรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน
สินค้าที่เกี่ยวข้อง น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น, น้ำมันมะพร้าวสำหรับทำอาหาร
บทความที่น่าสนใจ