“กรดไขมัน” คืออะไร
หลายๆคนคงไม่รู้ว่า “กรดไขมัน” คืออะไร จริงๆแล้วกรดไขมัน (Fatty Acids) คือ โครงสร้างไขมันที่พบได้ในร่างกายหรือในอาหารที่รับประทาน ร่างกายจะทำการสลายไขมันให้กลายเป็นกรดไขมันระหว่างที่ย่อยอาหารเพื่อดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
ซึ่งกรดไขมันจะส่งผลต่อการทำงานและเป็นแหล่งเก็บสำรองพลังงานของร่างกายและร่างกายจะดึงกรดไขมันมาใช้ในกรณีที่เผาผลาญกลูโคสมาเป็นพลังงานได้ไม่เพียงพอ คุณควรบริโภคกรดไขมันจากสัตว์ พืช และน้ำมันในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย
ประเภทของกรดไขมัน
ประเภทของกรดไขมันนั้นจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1.ไขมันอิ่มตัว
ไขมันประเภทนี้จะมีลักษณะแข็งตัวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง แหล่งที่จะพบไขมันอิ่มตัวนั้นมักมาจากเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนยนม เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนย ชีส หรือ ของทอด ในน้ำมันพืชบางชนิดก็จะมีกรดไขมันอิ่มตัวเหมือนกัน เช่น น้ำมันมะพร้าว (coconut oil) น้ำมันปาล์ม ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมากจนเกินความเหมาะสมของร่างกายก็จะก่อให้เกิดความเสี่ยงระดับคอเลสเตอรอลสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือดสมองจึงควรรับประทานไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสีย
2.ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว
ไขมันประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นของเหลวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้องและกลายเป็นของแข็งเมื่ออุณหภูมิต่ำ แหล่งที่จะพบไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวมักมาจากน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันงา อะโวคาโด ปลาทูน่า เป็นต้น ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี, ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไปจนถึงร่างกายจะได้รับกรดไขมันจำเป็นที่ไม่สามารถสร้างเองได้ทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
3.ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน
ไขมันประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นของเหลวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้องและกลายเป็นของแข็งเมื่ออุณหภูมิต่ำ แหล่งที่จะพบไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนมักมาจากน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพดหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ซึ่งไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนนั้นจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในเลือด, ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ให้สารอาหารที่เสริมสร้างเซลล์ในร่างกายทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ เช่น โอเมก้า3 โอเมก้า6 ซึ่งการบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อนนั้นจะช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์มากกว่าไขมันทรานส์
4.ไขมันทรานส์
ไขมันทรานส์นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไขมันทรานส์ชนิดธรรมชาติ ซึ่งจะอยู่ในเครื่องในสัตว์หรืออาหารที่ทำมาจากสัตว์และไขมันทรานส์นิดสังเคราะห์ ซึ่งจะมาจากการผ่านกระบวนการอุตสาหกรรมเพราะในปัจจุบันมีผู้คนมากมายที่นิยมใช้ไขมันทรานส์เก็บรักษาอาหารที่ทำให้มีอายุอยู่ได้นานขึ้นและปรุงแต่งรสชาติเนื้อสัมผัสของอาหาร ซึ่งไขมันทรานส์นั้นพบเจอได้ในอาหารหลายอย่าง เช่น มาการีน ของทอด ผลิตภัณฑ์ขนมอบ ผลิตภัณฑ์เนยนม เนื้อสัตว์ เป็นต้น การบริโภคไขมันทรานส์นั้นจะส่งผลเสีย คือ ระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีเพิ่มขึ้นและลดระดับคอเลสเตอรอลดีให้น้อยลง เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น สำหรับใครที่เป็นโรคเบาหวานชนิด2 ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันประเภทนี้
กรดไขมันกินอย่างไรให้ดีต่อร่างกาย
วิธีรับประทานกรดไขมันที่ดี ไขมันเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย การเลือกรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันดีจะช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์และช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้กับร่างกาย
1.รับประทานถั่ว
ถั่วเป็นอาหารที่มีไขมันสูง แต่ก็ควรเลือกรับประทานถั่วที่จะให้กรดไขมันที่ดี เช่น อัลมอนด์ วอทนัท ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อหัวใจและช่วยลดไขมันที่ไม่ดีออกไปจากร่างกาย การรับประทานถั่วนั้นสามารถทานแทนอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันดีและเลือกถั่วที่ไม่ผ่านการปรุงด้วยน้ำมัน หรือ เกลือในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายเพราะถั่วนั้นให้พลังงานกับร่างกายสูง
2.กินปลาที่มีไขมันดี
คุณควรรับประทานปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า3 ที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น แซลมอน ทูน่า ซึ่งผู้ที่บริโภคปลาที่มีกรดไขมันที่ดีนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคมะเร็ง อีกทั้งยังเสริมสร้างการทำงานของอารมณ์และสุขภาพจิต แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะสตรีที่ตั้งครรภ์เพราะอาจจะทำให้เสี่ยงที่จะได้รับสารปรอทที่ปนเปื้อนมาจากปลาได้
3.เลือกกินให้เหมาะสม
ในปัจจุบันชีวิตที่เร่งรีบทำให้พฤติกรรมการบริโภคและใช้ชีวิตนั้นแย่ลง ดังนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายและครบถ้วน โดยรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผัก ผลไม้ หรือเนื้อปลา งดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่แต่หันมาออกกำลังกายให้เสมอเสมอ
4.บริโภคน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ
น้ำมันที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ คือน้ำมันมะพร้าว (coconut oil) ที่ช่วยให้สารอาหารและป้องกันร่างกายจากโรคภัยไข้เจ็บได้
4.1.น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท
4.2.น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร ให้ความร้อนได้สูง
4.3.น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร อาหารสุกกรอบง่าย
4.4.น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร ไม่มีกลิ่นหืน
4.5.น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร สามารถเก็บไว้ได้นาน
4.6.น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร ช่วยทำให้อาหารมีกลิ่นหอมมากขึ้น
4.7.น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง
4.8.น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร ทำด้วยกรรมวิธีจากธรรมชาติไม่มีสารเคมีเป็นพิษ
4.9.น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดอุดตัน
ด้วยความปรารถนาดีจาก mannature
ขอขอบคุณข้อมูลจาก pobpad
บทความที่น่าสนใจ