น้ำมันมะพร้าว vs น้ำมันรำข้าว ต่างกันอย่างไร
น้ำมันมะพร้าว vs น้ำมันรำข้าว ต่างกันอย่างไร
น้ำมัน ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในการประกอบอาหาร ซึ่งจัดอยู่ในหมวดของไขมันที่เป็นแหล่งพลังงาน ถึงแม้ว่า น้ำมัน จะมีประโยชน์ แต่ก็ไม่ควรรับประทานมากเกินไป และมีหลายประเภท เรามาดูกันว่า น้ำมันมะพร้าว กับ น้ำมันรำข้าว ต่างกันอย่างไร
น้ำมันมะพร้าว ( Coconut Oil )
เป็นน้ำมันที่ได้จากไขมันในเนื้อสีขาวของลูกมะพร้าว โดยอาจผลิตด้วยกระบวนการที่แตกต่างหลากหลาย บางผลิตภัณฑ์ใช้คำว่า น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ( Virgin Coconut Oil ) ซึ่งหมายถึง น้ำมันมะพร้าว ที่สกัดโดยใช้กระบวนการธรรมชาติ เช่น ปราศจากสารฟอกสี การระงับกลิ่น หรือ การกลั่น และบางครั้งระบุว่าใช้กระบวนการ สกัดเย็น อันเป็นวิธีใช้เครื่องสกัดที่จะทำให้เกิดความร้อนตามธรรมชาติไม่เกิน 49 องศาเซลเซียสมากที่สุด
น้ำมันมะพร้าว ประกอบด้วยไขมันอิ่มตัว ที่เป็นไตรกลีเซอไรด์สายยาวปานกลาง ซึ่งเชื่อว่าอาจมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยไม่ผ่านแหล่งความร้อนจากภายนอก เพราะเชื่อว่าจะช่วยคง ประโยชน์ ทางสุขภาพของ น้ำมันมะพร้าว ไว้ได้เพราะอาจมีการทำงานต่างจากไขมันอิ่มตัวชนิดอื่น ๆ ที่มีสายยาวกว่า เช่น อาหารจำพวก น้ำมันพืช ไขมันจากนม และ เนื้อสัตว์ทั้งหลาย จึงมักถูกนำมาใช้ประโยชน์ในฐานะการรักษาทางเลือกสำหรับโรคต่าง ๆ เช่น เบาหวาน หัวใจ หรืออัลไซเมอร์ และถึงแม้จะประกอบด้วยแคลอรี่และไขมันอิ่มตัวสูง ก็ยังมีความเชื่อว่าการรับประทาน น้ำมันมะพร้าว อาจช่วยลดน้ำหนัก และ ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด รวมทั้งการใช้ทาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว รักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคสะเก็ดเงิน ตลอดจนสรรพคุณ บำรุง สุขภาพ เส้นผม และ สุขภาพช่องปาก
น้ำมันรำข้าว ( Rice Bran Oil )
เป็น น้ำมัน ที่ถูกสกัดมาจากส่วนนอกของเมล็ดข้าว ที่เรียกว่า รำ โดยผ่านกระบวนการเฉพาะทางตามแต่ละผู้ผลิตนั้นจัดทำ ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มักนิยมนำ น้ำมันรำข้าว มาใช้เป็นวัตถุดิบในการนำมาปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะ น้ำมันรำข้าว มีระดับแคลอรี่เพียง 120 แคลอรี่ และ มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 14 กรัม ที่ถือว่าเป็นไขมันที่ดี อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมแก่การนำมาประกอบอาหารในเมนูต่าง ๆ ตามสถาบันโภชนาการ และการกำหนดอาหาร ( Academy of Nutrition and Dietetics ) แนะนำ ที่สำคัญคุณควรได้รับไขมันเหล่านี้เพียงแค่ 3 - 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น เพราะในบางครั้งก็อาจกลับกลายเป็นการสร้างผลเสีย แก่สุขภาพร่างกายของเราได้แทน
องค์ประกอบของ น้ำมันมะพร้าว เป็น น้ำมันธรรมชาติ มีไขมันปานกลางซึ่งมีประโยชน์มากมายไม่ว่าจะผ่านความร้อนหรือไม่ก็ตาม สามารถดูดซึมเป็นพลังงานแก่ตับได้ดีกว่า เป็น น้ำมันธรรมชาติ จากมะพร้าว 100% ไม่มีคลอเลสเตอรรอล ไม่แปรสภาพเป็น ไขมันทรานส์ เมื่อผ่านความร้อนอีกครั้ง สามารถนำไปปรุงอาหาร ผัดทอด ใช้แทน น้ำมันพืช ทั่วไปได้ โดยที่โมเลกุลของ น้ำมัน ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ก่อให้เกิดสารตั้นต้นของมะเร็ง
ประโยชน์ ของ น้ำมันมะพร้าว ต่อ สุขภาพผม และ หนังศีรษะ
รักษาเหา น้ำมันมะพร้าว เป็นหนึ่งในวัสดุ ธรรมชาติ ยอดนิยมในการกำจัดเหาและไข่เหาบนหนังศีรษะ ซึ่งงานวิจัยหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ที่ทดสอบประสิทธิภาพของ น้ำมันต่าง ๆ ที่มักนำมาใช้ประโยชน์ด้านนี้ ได้แก่ น้ำมันโป๊ยกั๊ก น้ำมันกระดังงา และน้ำมันมะพร้าว โดยใช้ผู้ทดลองเป็นเด็กที่ติดเหาบนหนังศรีษะจำนวน 119 คน แบ่งกลุ่มทา น้ำมัน เหล่านี้วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที เป็นเวลานาน 5 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมนั้นให้ใช้สเปรย์ที่ประกอบด้วยสารเคมีกำจัดเหาและโลนอย่างเพอร์เมทริน ( Permethrin ) มาลาไทออน ( Malathion ) และไพเพอโรนิล บิวทอกไซด์ ( Piperonyl Butoxide ) ทาบนศีรษะวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที เป็นเวลานาน 10 วัน ปรากฏว่าการรักษาด้วยวิธีทางธรรมชาตินั้นมีความปลอดภัย ไร้ผลข้างเคียง และได้ผลถึง 92.3 เปอร์เซ็นต์ พอ ๆ กับการใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพ 92.2 เปอร์เซ็นต์ น้ำมัน จากธรรมชาติดังกล่าว รวมถึง น้ำมันมะพร้าว จึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่สามารถลองพิสูจน์ด้วยตัวเองโดยไม่น่าจะเป็นอันตราย
บำรุงเส้นผม และ สุขภาพผม จากการศึกษาคุณสมบัติของ น้ำมันมะพร้าว และ น้ำมันรำข้าว ต่อการ บำรุงเส้นผม น้ำมันมะพร้าว เป็น น้ำมัน ชนิดเดียวที่พบว่ามีคุณประโยชน์ ช่วยลดการสูญเสียโปรตีนของ เส้นผม ได้ดี เมื่อใช้ทาแล้วล้างออกก่อนและหลังการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับ เส้นผม จากสารเคมีทั้งหลาย โดยเห็นผลทั้งเมื่อใช้กับ เส้นผม ที่ แห้งเสีย และ ผมสุขภาพดี ซึ่งผลลัพธ์ที่เป็นเช่นนี้ ผู้วิจัยคาดว่าอาจเป็นเพราะกรดลอริก ( Lauric Acid ) ใน น้ำมันมะพร้าว ซึ่งเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์นั้น มีความสามารถในการจับตัวกับโปรตีนใน เส้นผม ที่สูง เพราะมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ และ โครงสร้างทางเคมีเป็นสายตรง
สุขภาพที่ดี เริ่มได้ที่ตัวคุณ ด้วยความปราถนาดีจาก น้ำมันมะพร้าว ออร์แกนิค สกัดเย็น ตราแมนเนเจอร์ ( Organic Coconut Oil Extra Virgin By ManNature )
อ่านบทความเพิ่มเติม
น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น สารพัดประโยชน์
น้ำมันมะพร้าว กินเปล่า ๆ ได้ไหม
บทความที่น่าสนใจ