น้ำมันมะพร้าว สามารถนำมาทำอาหารได้ไหม .

น้ำมันมะพร้าว สามารถนำมาทำอาหารได้ไหม

Share : facebook share twitter share messenger share

บทความ น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว สามารถนำมาทำอาหารได้ไหม



น้ำมันมะพร้าว สามารถนำมาทำอาหารได้ไหม

สำหรับคนที่ชอบการทำอาหาร การใช้น้ำมันพืช อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่เดิม ๆ ลองหันมาใช้ น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร ( Coconut Cooking Oil ) ดูไหม ว่ามีความแตกต่างจากน้ำมันอื่น ๆ อย่างไร วันนี้เรามีบทความมาให้อ่านกัน

 

น้ำมันมะพร้าว คือ น้ำมันที่อยู่ในเนื้อมะพร้าวแก่ โดยมีไขมันประมาณร้อยละ 60 ของน้ำหนัก น้ำมันมะพร้าวจัดเป็นไขมันอิ่มตัว ( Saturated Fat ) มีกรดไขมันอิ่มตัว ( Saturated Fatty Acid ) เป็นองค์ประกอบมากถึงร้อยละ 95 ของไขมันทั้งหมด ซึ่งต่างจากน้ำมันจากพืชอื่น ๆ และ เป็นสาเหตุว่าทำไมน้ำมันมะพร้าวจึงแข็งตัวเป็นไขสีขาว ๆ เวลาอยู่ในที่อากาศเย็น

 

ปัจจุบัน น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร ที่ไม่เป็นไขเมื่อเก็บในที่เย็น หรือเป็นไขน้อยกว่าน้ำมันมะพร้าวแบบเดิม เพราะแยกเอาส่วนที่กลายเป็นไขได้ง่ายออกไป ด้วยกรรมวิธีที่พัฒนาขึ้น ทำให้สามารถใช้ปรุงอาหารได้ไม่ต่างจากน้ำมันพืชอื่นๆ น้ำมันมะพร้าว อีกประเภทหนึ่ง คือ น้ำมันมะพร้าวธรรมชาติ ( Virgin Coconut Oil ) ซึ่งก็คือ น้ำมันมะพร้าวที่ไม่ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ และ สกัดด้วยกระบวนการที่ไม่ใช้ความร้อนเลย หรือ ใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 50 องศาเซลเซียส

 

น้ำมันมะพร้าว ผลิตอย่างไร

ด้วยคำถามข้างต้นนี้ หลายคนอาจจะยังกลัวว่า น้ำมันมะพร้าวประเภทนี้ที่ผลิตจากกะทิ สามารถทำอาหารได้ไหม เพราะผลิตจากเนื้อมะพร้าวแก่มาคั้นเป็นกะทิก่อน แล้วแยกเอาแต่ส่วนหัวกะทิ ซึ่งมีน้ำมันมะพร้าวเป็นองค์ประกอบหลัก และ ยังมีโปรตีนจากเนื้อมะพร้าวรวมอยู่ด้วย จากนั้นนำหัวกะทิไปผ่านกระบวนการแช่แข็ง ให้ไขมันแข็งตัว และ น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง แล้วก็ทำให้ละลาย เพื่อทำลายโครงสร้างของหัวกะทิที่มีลักษณะเป็นครีม ทำให้น้ำมันมะพร้าวเกิดการแยกตัวออกจากโปรตีนมะพร้าว และลอยเป็นชั้น ๆ แยกตัวจากกัน ทำให้สามารถแยกเอาเฉพาะน้ำมันมะพร้าวออกมาได้ง่ายขึ้น

 

วิธีการผลิตนี้ นิยมใช้ผลิตน้ำมันมะพร้าวในระดับอุตสาหกรรมมากมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตด้วยวิธีนี้ จะไม่มีความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้องเลย ทำให้มีชื่อเรียกกันว่า น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ซึ่งน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตด้วยกรรมวิธีนี้จะใส ไม่มีสี  มีกลิ่นหอมของมะพร้าว เพราะไม่ได้ผ่านความร้อน ทำให้สารที่ให้กลิ่นซึ่งเป็นสารที่ระเหยง่าย และ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เมื่อถูกความร้อนก็เลยยังอยู่ครบเกือบทั้งหมด

 

นอกจากกรรมวิธีการแช่แข็ง และ ละลายน้ำแข็งแล้ว ยังมีวิธีการผลิตน้ำมันมะพร้าว จากกะทิอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีพื้นบ้านที่สมัยก่อนนิยมกัน โดยการหมักหัวกะทิตั้งทิ้งไว้ จุลินทรีย์ที่อยู่ในมะพร้าว ก็จะเจริญขึ้นมาในกะทิ เพราะมีสารอาหารมากมาย และ ทำให้โปรตีนมะพร้าวเสียสภาพ ทำให้น้ำมันมะพร้าวแยกชั้นออกมา ซึ่งน้ำมันมะพร้าวที่ผลิตด้วยวิธีนี้จะมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นมาระหว่างการหมัก เป็นอีกหนึ่งวิธีของคนสมัยก่อน น้ำมันมะพร้าวที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ จะมีลักษณะเป็นไขแข็งสีขาว โดยถ้าตั้งทิ้งไว้ และ มีจุดเกิดควัน 170 องศาเซลเซียส ซึ่งต่ำกว่าน้ำมันมะพร้าวผ่านกรรมวิธี และ ต่ำกว่าอุณหภูมิที่ใช้ในการทอดอาหาร จึงไม่เหมาะใช้เป็นน้ำมันทอด

 

ไขมันอิ่มตัวใน น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว เป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค มีไขมันอิ่มตัวที่มีความแตกต่างจากไขมันอิ่มตัวจากพืช และ สัตว์ชนิดอื่น ๆ เพราะกรดไขมันอิ่มตัว ที่เป็นองค์ประกอบของน้ำมันมะพร้าวนั้น ประมาณครึ่งหนึ่ง คือ กรดไขมันที่ชื่อกรดลอริก ( Lauric Acid ) ซึ่งจัดเป็นกรดไขมันที่มีโมเลกุลขนาดกลาง ( Medium Chain Fatty Acid ) ในขณะที่กรดไขมันอิ่มตัว ที่เป็นองค์ประกอบหลักในไขมันพืช และ สัตว์เป็นกรดไขมันที่มีโมเลกุลยาว ( Long Chain Fatty Acid )

 

น้ำมันมะพร้าวที่ผลิตมา จึงมีส่วนประกอบหลักเป็นไตรกลีเซอไรด์ ที่มีกรดไขมันโมเลกุลขนาดกลางเป็นองค์ประกอบ หรือที่เรียกว่าเอ็มซีที ( MCT, Medium Chain Triglyceride ) ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านผนังลำไส้เล็กได้ และ ลำเลียงไปที่ตับ โดยไม่ต้องผ่านการย่อยด้วยน้ำย่อยเหมือนไตรกลีเซอไรด์ ที่เป็นส่วนประกอบของไขมันจากแหล่งอื่น ๆ

 

เอ็มซีที ( MCT, Medium Chain Triglyceride ) จึงถูกนำไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้เร็ว และเ หลือเป็นไขมันสะสมน้อย เมื่อเทียบกับไขมันอิ่มตัวอื่น ๆ ที่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายเพิ่มขึ้น ทั้งเอชดีแอลคอเลสเตอรอล ( HDL – cholesterol ) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี และ แอลดีแอลคอเลสเตอรอล ( LDL – cholesterol ) แต่เอ็มซีทีทำให้เอชดีแอลคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นมากกว่า จึงถือว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันอิ่มตัว ที่มีโทษต่อสุขภาพน้อยกว่าไขมันอิ่มตัวอื่น และ กลายเป็นกระแสที่ทำให้ผู้คนตื่นตัวรับประทานน้ำมันมะพร้าวกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าน้ำมันมะพร้าวดีกว่าน้ำมันชนิดอื่น และ สามารถรับประทานมากเท่าไรก็ได้ หรือยิ่งรับประทานมากยิ่งดี

 

น้ำมันมะพร้าว ใช้ทำอาหารดีไหม

น้ำมันมะพร้าว ก็คือไขมันชนิดหนึ่ง ซึ่งก็สามารถใช้ปรุงอาหาร หรือทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ทอด ผัด เจียว การรับประทานไขมันมากเกินไป หรือ เกินความต้องการของร่างกายก็ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นไขมันชนิดไหน วิธีที่ดี และ ถูกต้องที่สุด คือ การรับประทานไขมันให้พอดี และ หลากหลาย เลือกใช้น้ำมันในการปรุงอาหารให้เหมาะสม หากต้องการรับประทานน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันอื่น ๆ เสริมในลักษณะอาหารเสริม ก็ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงให้น้อยลง เพื่อชดเชยกันไป

 

แต่ก็ควรระวัง สำหรับน้ำมันมะพร้าวที่ใช้บริโภคต้องมีองค์ประกอบ คุณภาพ และ ความปลอดภัยผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่ระบุในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่น้ำมันมะพร้าวเกรด ที่ใช้เพื่อเป็นเครื่องสำอางจะมีเกณฑ์มาตรฐานแตกต่างกันไป จึงไม่ควรใช้น้ำมันมะพร้าวที่ใช้สำหรับบำรุงผิว มาปรุงอาหาร หรือรับประทาน ซึ่งสำหรับใครที่จะใช้น้ำมันมะพร้างในการปรุงอาหารก็สังเกตุดี ๆ นะ

 

สุขภาพที่ดี เริ่มได้ที่ตัวคุณ ด้วยความปราถนาดีจาก น้ำมันมะพร้าว ออร์แกนิค สกัดเย็น ตราแมนเนเจอร์ ( Organic Coconut Oil Extra Virgin By ManNature )

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ดูแลผิวด้วย น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว ช่วยดูแลผิวหน้าได้

 


บทความที่น่าสนใจ

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นดีต่อคนท้องและทารก

นอกจากน้ำมันมะพร้าวที่ลบแผลเป็นแล้วมีอะไรบ้าง

น้ำมันมะพร้าว Coconut Oil สารพัด ประโยชน์

10 ประโยชน์ ของ น้ำมันมะพร้าวออร์แกนิคสำหรับปรุงอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพ